สรุปทักษะการสอนและเทคนิคการสอน

     ทักษะ คือ การพูดของผู้สอนว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจและวิธีการพูดโน้มน้าวผู้เรียนต่างๆ และทักษะการเคลื่อนไหว ผู้สอนควรจะเคลื่อนไหว ผู้สอนอย่างไรให้เหมาะสมกริยาท่าทางต่างๆที่ผู้สอนเคลื่อนไหวในชั้นเรียนและตลอดเวลาการสอนและหมายถึงความคล่องแคล้ว ความชำนาญในการสอน

เทคนิค คือ กลวิธีและรูปเล่มที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆ

การสอน คือ การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์

ความสำคัญของทักษะการสอน

1.ถ้าเรามีทักษะการสอนเราสามารถสอนได้ และส่งเสริมความชำนาญ

2.ทักษะนับเป็นจุดมุ่งหมายหมวดหนึ่งของการศึกษาครูจะฝึกควบคู่กับความรูและเจตคติ

3.ช่วยให้เกิดความมั่นใจ ความคล่องแคล่วในการสอน

4.ช่วยไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการสอน เพราะถ้าผิดพลาดเด็กจะเข้าใจในการสอน

5.ช่วยให้สอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6.ช่วยให้เกิดความชื่นชม ศรัทธาจากผู้เรียนเพราะผู้สอนสามารถสอนได้กระฉับกระเฉงถูกต้อง

7.ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาการสอน

ทักษะการสอนพื้นฐาน หมายถึงความสามารถความชำนาญในการสอน ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้แต่ต้องอาศัยการฝึกฝน และการที่ครูจะมีความสามารถในการใช้ทักษะให้ได้ผลนั้นต้องมีการแยกทักษะแต่ละลักษณะให้ชำนาญเสียก่อน

1.ทักษะการนำสู่บทเรียน

จุดมุ่งหมาย

1.เพื่อให้นักเรียนเกิดความพร้อมในการที่จะเรียน

2.เพื่อโยงประสบการณ์จากเดิมของผู้เรียนเข้ากับประสบการณ์ที่จะสอน

3.เพื่อจัดบรรยากาศของการเรียนให้เป็นที่น่าสนใจ

4.กำหนดขอบเขตของบทเรียนว่าจะเรียนอะไร แค่ไหน

5.เพื่อให้ผู้เรียนรู้ความหมาย ความรู้ความคิดรวมยอด หลักการของบทเรียนใหม่

ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน

1.ก่อนเริ่มบทเรียน

2.ก่อนเริ่มอธิบายและซักถาม

3.ก่อนจะตั้งคำถาม

4.ก่อนจะให้นักเรียนอธิบาย

5.ก่อนจะให้นักเรียนดูภาพยนต์

6.ก่อนทำกิจกรรมต่างๆ

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน

1.ใช้อุปกรณ์การสอน เช่นของจริง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ

2.ลองให้นักเรียนลองทำกิจกรรมบ้าง อย่างมีสัมพันธ์กับบทเรียน การให้นักเรียนลองใส่RAMในคอมพิวเตอร์

3.ใช้เรื่องเล่านิทานหรือเหตุการณ์ต่างๆเพื่อนำสู่บทเรียน

4.ตั้งปัญหา ทายปัญหา เพื่อเร้าความสนใจ

5.สนทนาซักถามเรื่องต่างๆเพื่อนำสู่บทเรียน

6.ทบทวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่

7.แสดงละคร

8.ร้องเพลง เป็นเพลงเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ

9.สาธิต ซึ่งอาจสาธิตโดยครู

10.ทำสิ่งที่แปลกไปตามเดิมเพื่อเรียกร้องความสนใจ

11.ให้นักเรียนฟังเพลงต่างๆเช่นเสียงดนตรี

2.ทักษะการใช้กริยาวาจา ท่าทางการสอน

การใช้กริยาวาจานับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของครู เพราะนักเรียนจะเกิดความพอใจและสนใจที่จะเรียน บุคลิกภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของครู รวมทั้งความสามารถในการสื่อความหมายระหว่างครูกับนักเรียน ไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย

เทคนิคการใช้กริยา และท่าทางประกอบในการสอน

1.การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนอิริยาบท

เข้ามาในห้องครูควรเดินด้วยท่าทางที่เหมาะสมสง่างาม ดูเป็นธรรมชาติ และครูควรเดินดูนักเรียนให้ทั่วถึง เป็นการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่นักเรียนไม่เข้าใจ

2.การใช้มือและแขน

เป็นสิ่งดึงดูดความสนใจของนักเรียน เพราะนักเรียนชอบดูความสนใจสิ่งที่เคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง การใช้มือและแขนควรสัมพันธ์กับเรื่องจะสอน มองดูไม่ขัดตา ควรให้เหมาะสมกับโอกาสและเนื้อหาที่จะสอน และให้มีลักษณะการใช้ที่เป็นธรรมชาติ

3.การแสดงออกสีหน้าสายตา

ช่วยในการสื่อความหมายของผู้เรียน ในการแสดงออกสีหน้าของครู โดยทั่วไปครูที่ดีของครูควรมีใบหน้าที่แสดงออกถึงความเป็นมิตร ความรัก ความเห็นอกเห็นใจและครูควรกวาดสายตาไปให้นักเรียน

4.การทรงตัวและวางท่าทาง

ควรวางท่าให้เหมาะสม ไม่ตึงเครียด หรือเกร็งเกินไปควรวางตัวให้เป็นธรรมชาติ

5.การใช้น้ำเสียง

ครูควรใช้น้ำเสียงที่น่าสนใจ เสียงดังฟังชัด ออกเสียง ร  ให้ชัดเจนต้องใช้น้ำเสียงนุ่มนวล ไม่แสดงอารมณ์ที่ไม่สมควรออกทางน้ำเสียง

6.การแต่งกาย

เป็นสิ่งสำคัญและดึงดูดความสนใจของนักเรียน ควรแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสม เพราะถ้าครูแต่งสวยเกินไปนักเรียนก็จะให้ความสนใจกับการแต่งกายของครูมากกว่าบทเรียน

3.ทักษะการอธิบาย

เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนเป็นการบอกการเล่าให้เห็นตามลำดับขั้นตอนการสอนและการอธิบายควรมีการยกตัวอย่าง มี 2ทางคือ

1แบบนิรนัย โดยบอกแล้วยกตัวอย่างขยายกฎหรือหลักการนั้นๆให้เข้าใจ ทฤษฎีหลักการ

2.แบบอุปนัย การยกตัวอย่างรายละเอียดย่อยๆ แล้วให้เด็กคิดวิเคราะห์รวบรวมเป็นหลักการ

ลักษณะการอธิบาย

ใช้เวลาอธิบายไม่เกิน10 นาที ควรใช้ภาษาที่ง่ายๆที่เด็กเข้าใจง่ายควบคลุมใจความสนใจเรื่องยากไปง่ายและอธิบายตามแนวคิดของนักเรียนเราจะรู้ว่าเด็กเด็กเข้าใจหรือไม่เข้าใจและครูควรสรุปผลการอธิบายให้เด็กนักเรียนเข้าใจด้วย

4.ทักษะการเร้าความสนใจ

เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการเรียนการสอนประสบผลดี เพราะจะช่วยให้ครูปรับปรุงกลวิธีการสอน

ประโยชน์

1.เด็กเกิดความพร้อมที่จะเรียนมากขึ้น

2.เด็กมีความสนใจในบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ

3.ทำให้ครูมีความสนใจในการสอนและเด็กสนใจเรียน

เทคนิคการเร้าความสนใจ

1.การใช้   ท่าทางประกอบการสอน

2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง  ถ้อยคำน้ำเสียงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ

3.การเคลื่อนไหว ขณะสอน ครูควรเปลี่ยนจุดนั่ง และจุดยืนของตน   ภาพเคลื่อนไหวย่อมมีชีวิตมากกว่า และน่าสนใจกว่า

4.การเน้นจุดสำคัญ ต้องใช้ลีลา น้ำเสียง และการเว้นระยะการพูดหรือการอธิบาย

5.ทักษะการใช้คำถาม

เป็นสิ่งสำคัญในการสอน เฉพาะอย่างการใช้คำถามให้เด็กคิดเห็น สติปัญญาเป็นผู้ตามต้องเข้าใจจัดประสงค์ของคำถาม และไม่ควรเป็นคำถามที่อธิบาย แต่ควรเป็นคำถามที่เน้นวิเคราะห์

ประเภทคำถาม

1.คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน  เป็นคำถามง่ายๆไม่ต้องคิดลึกซึ้ง

คำถามที่ขยายความคิด เมื่อให้เด็กมองสิ่งที่เรียนอยู่และขยายความในสิ่งที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คำถามประเภทได้แก่ การคาดคะเน เป็นคำถามเชิงสมมุติฐาน คาดการณ์ ซึ่งคำตอบย่อมเป็นไปได้หลายอย่าง

–          คำถามที่ใช้การวางแผนเป็นคำถามที่เสนอแนวคิดทางโครงการหรือเสนอแผนงานใหม่

–          การวิจารณ์ เป็นคำถามที่ผู้ตอบพิจารณ์เรื่องราวหรือเหตุการณ์ในจุดสำคัญ

–          การประเมินค่า  ว่านักเรียนชอบสิ่งไหนมากกว่ากัน

เทคนิคการใช้คำถาม

  1. ถามด้วยความสนใจ
  2. ถามอยางกลมกลืน
  3. ถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่าย
  4. การให้นักเรียนมีโอกาสตอบหลายคนในการสอน
  5. การเลือกถาม ควรถามผู้เรียนที่อ่อนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจดังนี้
  6. การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ ควรให้คำชมเชยกับเด็กที่ตอบคำถาม
  7. การใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้ง
  8. การใช้กิริยาท่าทางเสียงในการประกอบคำถาม
  9. การใช้คำถามเชิงรุก การใช้คำถามต่อเนื่องอีก เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้และขยายความคิด

6.ทักษะ การใช้อุปกรณ์การสอน

ประโยชน์ของอุปกรณ์การสอน

  1. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
  2. เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
  3. ทำให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด
  4. ทำให้เกิดทักษะการศึกษาหาความรู้
  5. ทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆได้นาน
  6. ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์

เทคนิคการใช้อุปกรณ์

  1. ใช้อุปกรณ์อย่างคล่องแคล่ว
  2. แสดงอุปกรณ์ให้เห็นชัดทั่วห้อง
  3. ควรหาที่ตั้ง  แขวนอุปกรณ์ที่มีขนานใหญ่
  4. ควรใช้ไม้ยางและมีปลายแหลมชี้แผนภูมิ
  5. ควรนำอุปกรณ์มาวาง  เรียงกันไว้เป็นลำดับก่อนถึงเวลาสอนเพื่อสะดวกในการหยิบใช้
  6. ควรเลือกใช้เครื่องมือประกอบการใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม
  7. ควรมาการเตรียมผู้เรียนก่อนล่วงหน้าการใช้อุปกรณ์
  8. ควรใช้อุปกรณ์ให้คุ้มค่ากับที่เตรียมมา
  9. พยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรม
  10. ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์บางชนิด

7ทักษะและเทคนิคการใช้กระดานดำ

  1. ครูควรทำความสะอาดกระดานดำทุกครั้งที่เข้าสอน
  2. การเรียนควรแบ่ง3ส่วนหรือ4ส่วน หรือขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเขียน
  3. ในการเรียนควรเขียนจากซ้ายมือไปขวามือ
  4. ถ้ามีหัวข้อเรื่อง ชื่อเรื่องควรไว้ตรงกลางกระดานดำในส่วนที่เราแบ่งไว้
  5. ขณะเขียนต้องแบ่งกระดานพอประมาณ
  6. ในการเขียนหนังสือ ต้องให้เป็นเส้นตรงไม่คดเคียว
  7. ถ้าต้องการอธิบายข้อความบนการดานดำ ไม่ควรยืนมาก
  8. ถ้ามีข้อความสำคัญ อาจใช้ชอล์กขีดเส้นใต้
  9. ควรใช้ชอล์กสี เมื่อต้องการเน้นข้อความโดยเฉพาะ
  10. เขียนคำตอบของผู้เรียนลงกระดาน เพื่อเสริมกำลังใจ
  11. ใช้เครื่องมือในกานเขียนรูปทรงบนกระดาน
  12. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้กระดานดำด้วย
  13. ถ้ามีเรื่องใหม่ควรลบของเก่าออกให้หมด
  14. การลบกระดานต้องลบให้ถูกวิธี โดยลบกระดานจากบนลงล่างและลบไปทางเดียวกัน

8.ทักษะการเสริมกำลังใจ

ประเภทการเสริมกำลังใจ

  1. ความต้องการภายใน เช่น ความพอใจ
  2. การเสริมกำลังใจภายนอก เช่น การชมเชย การให้รางวัล ได้แก่

–          การเสริมกำลังใจโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในการชมเชย เช่นตบมือ

–          การเสริมกำลังไว้โดยการให้รางวัล

–          โดยการให้ผู้เรียนเห็นความต้องการของตนเอง

9.ทักษะการสรุปบทเรียน

–       เป็นการสอนที่ผู้สอนพยายามให้นักเรียนรวบรวมความคิด ความเข้าใจของตนจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ว่าได้สาระสำคัญหลักเกณฑ์   ข้อเท็จจริง

–       การสรุปบทเรียนเป็นสิ่งที่ต้องทำคู่กับการสอน

รูปแบบการสรุปบทเรียน มี 2 รูปแบบ คือ

  1. การสรุปคิดเนื้อหาสาระ
  2. การสรุปคิดความเห็น

เทคนิคการสรุปบทเรียน

  1. สรุปโดยการอธิบาย
  2.  2.    สรุปโดยใช้อุปกรณ์

3.   สรุปโดยการ

  1. สรุปโดยการเล่านิทาน
  2.  5.  สรุปโดยการสร้างสถานการณ์
  3.  6.   สรุปโดยการสาธิต